ธุรกิจแบบ B2B ยังคงวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

ธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตได้ก้าวหน้าต่อไปแม้ในยุคเศรษฐกิจถดถอย"

ธุรกิจแบบ B2B ยังคงวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

แม้จะมีความรู้สึกในด้านลบต่ออะไรก็ตาม ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ต หลังจากเหตุการ์ณฟองสบู่แตกของธุรกิจดอท คอม แต่ในหลายบริษัท ก็ยังคงเชื่อในความจริงที่ว่า เทคโนโลยีด้านอินเตอร์เน็ตสำหรับธุรกิจ B2B ได้มีส่วนช่วยใน ด้านการปฏิบัติงาน, เพิ่มรายได้และย่นเวลาในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด และเมื่อฝุ่นผงจากการระเบิดของธุรกิจดอท คอม ได้จางลงเราก็ได้พบกับแนวโน้มของธุรกิจแบบ B2B ได้พัฒนาขึ้น ในอันที่จะสร้างความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ ซึ่งรวมถึงการมุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อสร้างผลกำไรแก่บริษัทและองค์กร การเปลี่ยนแปลงจากการฝากสินค้ากับร้านค้าทางอินเตอร์เน็ต ที่เรียกกันว่าเว็บพอร์ทัล (Web Portal) มาเป็นการเปิดร้านค้าของตัวเองโดยมีการซื้อ ขายโดยตรงกับผู้บริโภค รวมถึงการมุ่งเน้นที่จะใช้โซลูชัน ที่เป็นระบบเปิด ซึ่งสามารถทำงานได้กับแอพพิเคชันอื่นๆ เป็นการพิสูจน์ว่าธุรกิจแบบ B2B ยังคงมีอนาคตที่สดใสไม่น้อยทีเดียว

หลังจากการก่อกำเนิดของอินเตอร์เน็ตในช่วงปลายของยุค 1990 และผลกระทบในด้านลบต่อสิ่งต่างๆ ที่ขึ้นต้นด้วย "e" ในปี 2000 แต่นั่นมิได้หมายความถึงจุดสิ้นสุด ของธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต จากการสำรวจได้พบว่า การใช้จ่ายขององค์กรในด้านเทคโนโลยี ได้หดตัวลงจนเหลือน้อยกว่า 5 เปอร์เซนต์โดยเฉลี่ย แม้กระนั้นการใช้จ่ายในด้านธุรกิจผ่าน อินเตอร์เน็ตได้เพิ่มสูงขึ้น โดยมีการคาดการ์ณว่าจะสูงขึ้นถึง 10 เปอร์เซนต์ในปลายปีนี้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบการเติบโตนี้ กับปีก่อนๆ อาจจะไม่ได้เป็นตัวเลขที่ดีนัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ได้สะท้อนถึงสภาวะที่ดีขึ้นในการขยายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับอีกหลายบริษัท ที่พยายามอย่างมากในการลดค่าใช้จ่ายในทุกๆ ด้าน

ส่วนงานวิจัยและสำรวจของบริษัทการ์ทเนอร์ ได้ประมาณตัวเลขของธุรกิจแบบ B2B ทั่วโลกว่าจะเติบโตถึง เกือบ 6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2004 ซึ่งโตจาก 953 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2001 ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเอา อินเตอร์เน็ตมาใช้มากขึ้น โดยตัวเลขนี้สามารถแบ่งตามแหล่งที่มาได้สองแบบด้วยกัน หนึ่งคือโครงการในการพัฒนาด้านระบบ และการทำงานภายใน ซึ่งเน้นในการติดต่อโดยตรงกับซัพพลายเออร์, ตัวแทนจำหน่าย, และผู้ค้าปลีกให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และลดความซับซ้อนของกระบวนการต่างๆ ในส่วนที่สองนั้น จะเน้นในการติดต่อกับผู้ลงทุนภายนอก ที่จะช่วยครอบคลุมตลาด และการประสานงานต่างๆ โครงการต่างๆ เหล่านี้ ได้ทำให้เกิดช่องทางในการติดต่อ ระหว่างบริษัทกับซัพพลายเออร์, ตัวแทนจำหน่าย, ผู้ค้ารายย่อยและผู้บริโภค ในแบบอินเตอร์แอททีฟโดยใช้ เทคโนโลยีทางอินเตอร์เน็ต และแอพพิเคชันสำหรับธุรกิจแบบ B2B ได้ช่วยให้เกิดโครงสร้างในการจัดการ ในการติดต่อสื่อสารจากหลายช่องทาง และปรับเปลี่ยนกระบวนการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดซื้อจัดจ้าง, ด้านการผลิตตลอดจนการจัดจำหน่าย ซึ่งยังผลในการลดต้นทุนการปฏิบัติงานอีกด้วย

ตลาดด้าน B2B ได้วิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ในอันที่จะสนองตอบต่อความต้องการของบริษัทและองค์กร หลังจากภาวะฉงักงันของธุรกิจดอทคอม ก็ได้เห็นแนวโน้มที่ดีขึ้นสำหรับพลังขับเคลื่อน ที่จะนำธุรกิจแบบ B2B ให้ก้าวหน้าต่อไป บริษัทต่างๆ ในทุกมุมโลก ได้เริ่มที่จะก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจแบบ B2B อย่างตั้งใจอย่างมาก โดยเห็นได้จากส่วนงานด้านธุรกิจ และส่วนงานด้านไอที ได้มีโครงการร่วมกัน และดำเนินงานไปควบคู่กันมากขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งนำไปสู่แรงขับเคลื่อนสำหรับการตัดสินใจในการลงทุน และการดูแลโครงการต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดผลลัพท์ที่สอดคล้องกันกับวัตถุประสงค์ ของบริษัทและองค์กร

สภาพการ์ณของเศรษฐกิจในปัจจุบันยังผลให้บริษัทต่างๆ ได้เปลี่ยนลำดับการให้ความสำคัญ จากเพียงประสิทธิภาพในการทำงาน มาเป็นการเพิ่มรายได้ และการสนับสนุนการเพิ่มผลกำไร (Profit Contribution) พวกเราคงจะเห็นด้วยว่า การเพิ่มผลกำไรให้กับองค์กร ถือเป็นภาระกิจหลักสำหรับโครงการด้านธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต ตามมาด้วยการเพิ่มความได้เปรียบเชิงธุรกิจ และรักษาระดับการแข่งขันในตลาด ด้วยสิ่งต่างๆ นี้ ได้ทำให้เป้าหมายในการดำเนินธุรกิจแบบ B2B เปลี่ยนไป เน้นในด้านการขายมากขึ้น ซึ่งเราอาจจะได้เห็นในรูปแบบด้านระบบลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) และการวิเคราะห์ตลาด

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาวิวัฒนาการด้าน e-Marketplace หรือธุรกิจแบบ B2B ที่เปิดกว้างโดยอาศัยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ได้เติบโตขึ้นอย่างมาก ในทุกภาคอุตสาหกรรมเลยทีเดียว ธุรกิจด้านการทำธุรกรรมผ่านทางอินเตอร์เน็ต ของบริษัทเอกชน ได้พิสูจน์ถึงความสำเร็จอย่างมาก ดังตัวอย่างเช่น Dell Computer และ ห้างสรรพสินค้า Wall-Mart โดยมีปัจจัย หลักในความสำเร็จคือ เป็นตลาดแบบออนไลน์ ซึ่งเริ่มจากการขยายโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าแบบ 24 ชั่วโมง 7 วัน ต่อสัปดาห์ มาเป็นกลยุทธ์ด้านราคา ที่ถูกกว่าในการสั่งซึ้อแบบออนไลน์ หรือให้ข้อเสนอที่ดีกว่า โดยมีตัวเลขของการ สั่งซึ้อสินค้าแบบออนไลน์ได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 8 เท่าตัวในปี 2001 ทั้งนี้เหตุผลของบริษัทต่างๆ ที่ก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจแบบออนไลน์นั้น อาจจะแตกต่างกันไปเช่น ต้องการปรับปรุงด้านการ บริการและการสนับสนุนหลังการขาย, ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน, ต้องการขยายโอกาสในการเข้าถึงตลาด เป็นต้น ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานอย่างมาก แต่ความซับซ้อนของธุรกิจแบบ B2B นั้นยังต้องการความใส่ใจและดูแลอย่างใกล้ชิด  ในส่วนงานด้านการดำเนินธุรกิจ และส่วนปฏิบัติการที่จะต้องยึดหลักในการให้บริการ และการสนับสนุนอย่างจริงจัง

อุตสาหกรรมด้านซอฟท์แวร์กำลังมุ่งมั่น ในการพัฒนาโครงสร้างด้านเว็บเซอร์วิส (Web-services) ที่จะเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจแบบออนไลน์เว็บเซอร์วิส เป็นการรวมกันของซอฟท์แวร์โซลูชัน ในด้านต่างๆ ที่จะช่วยให้แอพพิเคชันทางธุรกิจที่ต่างกัน สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกันได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการด้านเว็บเซอร์วิสจะมีบทบาทมากขึ้น ในการนำซอฟท์แวร์โซลูชัน ให้ทำงานร่วมกันกับแอพพิเคชันต่างๆ ในองค์กรผ่านทางระบบเครือข่าย หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เว็บเซอร์วิสเป็นบทพิสูจน์ ในการเปลี่ยนแปลง จากการใช้งานของเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กร มาเป็นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมเครือข่าย

ก้าวต่อไปของธุรกิจแบบ B2B จะยิ่งมีบทบาทอย่างมากในการเพิ่มความสามารถขององค์กร ที่ปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น, เข้าถึงตลาด และกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น, และการสื่อสารกับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผ่านทางเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต