อนาคตของ 10GE: รูปแบบการใช้งาน

โดย นายมงคล อัศวโกวิทกรณ์
ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีขั้นสูง
บริษัทซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ความท้าทายทางธุรกิจ

เนื่องจากองค์กรต่างๆ พึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนา หรือแม้กระทั่งปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นองค์กรเหล่านี้จึงต้องการโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีสมรรถนะ มีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ศูนย์กลางของการปฏิบัติงานด้านไอทีในปัจจุบันก็คือ

ศูนย์ข้อมูลหรือดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center) ซึ่งทำหน้าที่สำคัญคือประมวลผลและจัดเก็บแอพพลิเคชั่นสำคัญๆ ทุกวันนี้ฝ่ายไอทีได้รับแรงกดดันที่ต้องสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ให้มีพลังประมวลผลและประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ใช้พลังงานน้อยลง เพื่อให้ระบบพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง

และสามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างทันท่วงที ในขณะเดียวกัน

องค์กรเหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญหาท้าทายต่างๆ ที่เกี่ยวกับดาต้าเซ็นเตอร์ เช่น:

  • ปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร เพื่อลดหรือชะลอการจัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม
  • ลดการใช้พลังงานและระบบระบายความร้อน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  • ทำให้ข้อมูลและทรัพยากรต่างๆ พร้อมใช้งานในแบบเรียลไทม์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช ้
  • เพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ดาต้าเซ็นเตอร์รุ่นใหม่ๆ หลายแห่งประกอบด้วยเบลดเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งไว้บนแร็คอย่างหนาแน่น โดยขับเคลื่อนด้วยโปรเซสเซอร์แบบมัลติคอร์ แม้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะรองรับการใช้งานในระดับที่สูงขึ้น

แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความยุ่งยากซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์ด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ความต้องการใช้งานแบนด์วิธที่เพิ่มสูงขึ้น และทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย


โซลูชั่นของซิสโก้

ซิสโก้ได้นำเสนอวิสัยทัศน์ Data Center 3.0 ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาปรับปรุงดาต้าเซ็นเตอร์อย่างครอบคลุมทุกด้าน โดยจัดหากรอบโครงสร้างสำหรับการสร้าง ปรับใช้ และควบคุมดาต้าเซ็นเตอร์แห่งอนาคต ซึ่งทำงานในแบบรวมศูนย์ (Centralized) และมีการผนวกรวมเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน จึงสามารถตรวจสอบและตอบสนองได้อย่างฉับไวต่อความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป

การผนวกรวมและปรับเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ เช่น เซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์สตอเรจ ให้เป็นการใช้งานแบบเสมือนจริง (เวอร์ช่วลไลซ์) โดยเชื่อมโยงกับเครือข่ายอัจฉริยะ จะช่วยให้ฝ่ายไอทีสามารถควบคุมทรัพยากรในดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ด้วยระบบอัตโนมัติและการผสานรวมอย่างกลมกลืนของทรัพยากรดาต้าเซ็นเตอร์แบบเวอร์ช่วลไลซ์นี้จึงพร้อมใช้งานสำหรับทุกคน ทุกที่ ทันเวลาและทันต่อเหตุการณ์

ช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิมมากนัก

สถาปัตยกรรมที่เป็นนวตกรรมและสอดคล้องตามมาตรฐานของเครือข่ายอีเธอร์เน็ตแบบยูนิฟายด์ (Unified) จะรองรับการปฏิรูปดาต้าเซ็นเตอร์รุ่นอนาคต

ด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้:

  • Fibre Channel Over Ethernet (FCoE): แนวทางมาตรฐานที่ผสานรวมการสื่อสารแบบไฟเบอร์แชนเนลเข้ากับเฟรมของอีเธอร์เน็ต ขจัดความจำเป็นในการใช้สวิตช์ สายเคเบิล อินเทอร์เฟซ และอุปกรณ์รับส่งสัญญาณแยกต่างหากสำหรับการสื่อสารแต่ละประเภทระหว่างไฟเบอร์แชนเนลและแลน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม
  • 10 กิกะบิต อีเธอร์เน็ต ประสิทธิภาพสูง: ตอบสนองความต้องการแบนด์วิธที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากเซิร์ฟเวอร์แบบมัลติคอร์จำนวนมากที่ติดตั้งไว้บนแร็ค
  • Cisco Data Center Ethernet: Cisco Data Center Ethernet เป็นชุดเทคโนโลยีอีเธอร์เน็ตรุ่นปรับปรุงประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับขนาดดาต้าเซ็นเตอร์ และรองรับการผนวกรวมเครือข่าย LAN, SAN และระบบประมวลผลแบบคลัสเตอร์ ฟังก์ชั่นเหล่านี้จะช่วยให้สามารถปรับใช้โครงสร้างแบบยูนิฟายด์ของ Cisco Data Center 3.0 ได้อย่างเหมาะสม
  • บริการที่รองรับเวอร์ช่วลแมชชีน (VM) ได้อย่างเหมาะสม: เพื่อเชื่อมโยงโปรไฟล์เซิร์ฟเวอร์และเครือข่ายเข้ากับเวอร์ช่วลแมชชีนบนเครือข่าย การเชื่อมโยงดังกล่าวจะช่วยให้ฝ่ายไอทีสามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่างยืดหยุ่น ด้วยการจัดสรรบริการแอพพลิเคชั่นและโครงสร้างพื้นฐานอย่างรวดเร็วจากทรัพยากรที่ใช้งานร่วมกัน

ผลตอบแทนจากการลงทุน / คุณประโยชน์ที่ได้รับ

โครงสร้างอีเธอร์เน็ตแบบยูนิฟายด์แฟบริคส์ช่วยให้ฝ่ายไอทีสามารถผนวกรวมทรัพยากรดาต้าเซ็นเตอร์เข้าด้วยกันในปัจจุบัน พร้อมทั้งพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ของคุณเพื่อตอบสนองความต้องการสำหรับอนาคต ซึ่งนอกจากจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอีกด้วย

  • ลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการดูแลรักษาระบบ: โครงสร้างยูนิฟายด์แฟบริคส์บนเครือข่ายอีเธอร์เน็ต 10 GE จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผนวกรวมการสื่อสารสำหรับ LAN, SANและใช้งานทรัพยากรต่างๆ ที่เคยแยกออกจากกัน และผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ สถาปัตยกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใช้อแด็ปเตอร์ I/O น้อยลง และลดความยุ่งยากซับซ้อนในการติดตั้งสายเคเบิ้ล นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการระบายความร้อน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
  • การปกป้องเงินลงทุนในระยะยาว: การพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ไปสู่โครงสร้างยูนิฟายด์แฟบริคส์ จะช่วยปกป้องการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอีเธอร์เน็ต 10 GE และไฟเบอร์แชนเนลที่มีอยู่ พร้อมทั้งใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากยูนิฟายด์แฟ บริคส์ในปัจจุบัน
  • เพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ: ผู้จัดการฝ่ายไอทีจะสามารถย้ายแอพพลิเคชั่นได้อย่างง่ายดายตามปัจจัยต่างๆ เช่น การใช้ซีพียู และตอบสนองอย่างฉับไวต่อความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
  • ปรับปรุงความยืดหยุ่นของธุรกิจ: ฝ่ายไอทีจะสามารถปรับปรุงความพร้อมใช้งาน ความปลอดภัย และความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้งตอบสนองได้อย่างทันท่วงทีต่อความต้องการทางธุรกิจและการหยุดชะงักของบริการ และย้ายแอพพลิเคชั่นไปสู่โครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ เมื่อมีความจำเป็น

โดยสรุปแล้วเราคงได้เห็นการใช้งาน 10GE ในรูปแบบของยูนิฟายด์แฟบริคส์เร็วๆ นี้อย่างแน่นอนอันเนื่องมาจากแรงกดดันและความต้องการระบบที่ตอบสนองความต้องการที่ยืดหยุ่นทันต่อสถานะการณ์ดังกล่าวและปริมาณข้อมุลที่ทวีขึ้นจากการผนวกรวมการสื่อสารสำหรับ LAN และ SANเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นการลงทุนที่ประหยัดและคุ้มค่ากว่าด้วย